ลอดลายศิลป์ ยินเรื่องเล่า : วิจิตรศิลป์บนผืนผ้า สืบวิถีแห่งศรัทธาย่านค้าแขก-จีน ถิ่นเจริญกรุงมุ่งคลองสาน

ลอดลายศิลป์ ยินเรื่องเล่า : วิจิตรศิลป์บนผืนผ้า สืบวิถีแห่งศรัทธาย่านค้าแขก-จีน ถิ่นเจริญกรุงมุ่งคลองสาน
(วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร-วัดทองนพคุณวรวิหาร-มัสยิดเซฟี(มัสยิดตึกขาว)-โรงเกลือแหลมทอง-บ้านฮวดหลี)
วันพุธที่ 24 มกราคม 2567

กำหนดการ

8.45 น. พบกัน ณ จุดนัดหมาย ภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์(วิหารพระนอน)วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร Map ตั้งอยู่ริมถนนมหาพฤฒาราม เขตบางรัก ลงทะเบียนผู้ร่วมกิจกรรม

(วิธีการเดินทางมายังวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร โดยรถไฟฟ้า MRT ลงสถานีหัวลำโพง ทางออก 1 สามารถนั่งแท็กซี่, มอเตอร์ไซค์ หรือ เดินไปยังวัดโดยเลียบถนนมหาพฤฒาราม)

วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร

09.00 น. ล้อมวงกันฟังเกร็ดความรู้เรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร พระอารามชานพระนครริมคลองผดุงกรุงเกษมซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สถาปนาขึ้นใหม่เป็นพระอารามหลวงและพระราชทานสมณศักดิ์ให้กับพระเถระผู้ใหญ่

ผู้ซึ่งพยากรณ์ว่าพระองค์จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินเมื่อครั้งที่ยังผนวชเป็นพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ สักการะพระประธานในพระอุโบสถ พระวิหาร ชมความงดงามแปลกตาของภาพจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างขรัวอินโข่งที่นำเอาวิธีการเขียนภาพแบบตะวันตก อาทิ การจัดองค์ประกอบภาพ การเขียนภาพทิวทัศน์แบบเสมือนจริง มาใช้ในการวาด ถอดรหัสตราสัญลักษณ์ของวัดที่ปรากฏบนบานประตู บานหน้าต่าง พร้อมสืบค้นความหมายของพระปรางค์ขนาดใหญ่ 4 องค์ศิลปะรัตนโกสินทร์ข้างพระอุโบสถ

ภาพจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างขรัวอินโข่งที่นำเอาวิธีการเขียนภาพแบบตะวันตก
09.45 น. ออกเดินเท้าข้ามแนวถนนเจริญกรุง ชี้ชวนกันชมอาคารนายเลิศ ริมถนนเจริญกรุงจากมุมมองระยะไกล ซึ่งในอดีตคือคอมเพล็กซ์ของนายเลิศ สมันเตา ผู้มีหัวคิดก้าวหน้าในยุคนั้น ประกอบด้วยอาคารสูง 7 ชั้นที่นับว่าเป็นอาคารสูงที่สุดแห่งหนึ่งในบางกอก ห้างนายเลิศ แหล่งจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โรงน้ำแข็งและโรงแรมแห่งแรกในสยามที่เจ้าของเป็นเอกชนคนไทย แวะชมความงดงามทางศิลปกรรมของสะพานพิทยเสถียรสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก สถาปัตยกรรมแบบเวนีเชียน ซึ่งทอดข้ามคลองผดุงกรุงเกษมเดินลัดเข้าซอยเจริญกรุง 24(ซอยโรงน้ำแข็ง 1) ย่านสมาคมค้าข้าวและสำนักหนังสือพิมพ์จีน“ซิงจงเจี้ยน”ครั้งอดีต มุ่งสู่ท่าเรือสี่พระยา ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ปากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งทิศใต้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสู่ท่าเรือคลองสาน

10.30 น. ทอดน่องท่องชมร่องรอยที่เคยรุ่งเรืองครั้งอดีตของตลาดท่าเรือคลองสาน ทัศนา ป้อมป้องปัจจามิตร“ ป้อมลับแห่งฝั่งธนฯ หนึ่งในปราการป้องกันพระนครครั้งรัชกาลที่ 4

11.00 น. ยลวัดทองนพคุณวรวิหาร อารามโบราณที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) ได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์เพื่อน้อมเกล้าฯถวายแด่รัชกาลที่ 3 และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพระอุโบสถจากศิลปกรรมแบบพระราชนิยมกระบวนจีนมาเป็นแบบไทยประเพณี ชมศิลปะวิเศษหลายประการของพระอารามแห่งนี้ อาทิพระอุโบสถที่มีหน้าต่างรูปพัดยศพระครูสัญญาบัตรระดับพระราชาคณะที่หาชมได้ยาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพระครูกสิณสังวร ผู้มีฝีมือในทางช่างและเป็นศิษย์ของขรัวอินโข่ง ที่วาดได้อย่างงดงามในเชิงฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบางส่วนมีความคล้ายคลึงกับวัดมหาพฤฒาราม พร้อมชมผ้าห่อคัมภีร์พระไตรปิฎก ที่ลวดลายงามเลิศน่าชมอย่างยิ่งและนานาศิลปะวัตถุที่ทางวัดเก็บรักษาและเตรียมจัดสร้างพิพิธภัณฑ์วัดทองนพคุณเพื่อจัดแสดงวัตถุดังกล่าว

12.00 น. ออกเดินเท้าลัดเลาะตรอกหลังวัดทองนพคุณวรวิหาร ผ่านซอยถนนเชียงใหม่ สู่ตลาดท่าดินแดง แยกย้ายกันรับประทานอาหารกลางวันเลิศรสซึ่งมีให้เลือกลิ้มลองมากมายตามอัธยาศัย

13.15 น. รวมพลเดินเท้าตามแนวถนนท่าดินแดง

13.30 น. เดินลัดเลาะผ่านพื้นที่โกดังเก่าย่านท่าดินแดง ในอดีตเป็นโกดังสินค้าและย่านตลาดแขกมุ่งสู่มัสยิดเซฟี(มัสยิดตึกขาว) ศาสนสถานซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางลับแสนUnseen สร้างขึ้นโดยกลุ่มพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาในสยาม มีภูมิลำเนาอยู่ที่รัฐกุจรัต ประเทศอินเดีย นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ โดยเรียกพวกตนเองว่า “ดาวูดีโบราห์” นิยมทำการค้าผ้าแพรพรรณ ดิ้นเงินดิ้นทอง เพชรพลอย ตลอดจนเครื่องเทศ สมุนไพร เครื่องหอม และน้ำอบ ฯลฯ ได้ติดต่อขอซื้อที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด) เมื่อได้ที่ดินแล้วจึงเริ่มสร้างมัสยิด และเปิดใช้ทำศาสนกิจเมื่อปี พ.ศ. 2453 ทัศนาความงดงามทางสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปกรรมแบบกอธิค โครงสร้างอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ตั้งอยู่บนฐานรากแผ่ที่ทำจากไม้ซุง ภายในอาคารไม่มีเสากลาง บนเพดานห้องประดับโคมไฟรูปถ้วยอักขระกูฟี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของนิกายดาวูดีโบห์รา มีระเบียงวนโดยรอบ ประดับกระจกสีและลายฉลุไม้สวยงามพร้อมรับฟังการบรรยายและนำชมสถานที่จากวิทยากรผู้มากด้วยความรู้ประจำมัสยิด

15.00 น. ออกเดินตามทางเท้าเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เยี่ยมชมร่องรอยการค้าเกลือครั้งอดีตในย่านคลองสาน พร้อมฟังเกร็ดเรื่องน่ารู้สารพันเกี่ยวกับเกลือ ณ “โรงเกลือแหลมทอง”

15.30 น. เยี่ยมยลควางดงามทางสถาปัตยกรรมของ“บ้านฮวดหลี“ เรือนโบราณแห่งย่านคลองสาน ซึ่งประดับประดาหน้าบันเรือนด้วยเครื่องถ้วยกระเบื้องกระบวนจีนเป็นลวดลายมงคลที่หาชมได้ยาก

16.00 น. ถ่ายภาพกับStreet Art น่ารักๆของแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ย่านคลองสาน พร้อมแวะจิบเครื่องดื่มเย็นๆดับกระหายคลายเหนื่อย ณ Kappra Cafe’ ร้านกาแฟแห่งใหม่ย่านท่าเรือคลองสาน ซึ่งออกแบบตกแต่งร้านจากห้องแถวเก็บผ้าที่คาดว่าอัดแน่นไปด้วยสิ่งทอ แปรสภาพเป็นคาเฟ่สุดเก๋ไก๋ในบรรยากาศสบายๆ ให้ผู้คนทั่วไปและนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาชิมอาหารวีแกนและกาแฟ และมีพื้นที่สำหรับผู้สนใจสนใจงานผ้าและสิ่งทอให้เลือกชมเลือกซื้อได้ตามอัธยาศัยที่สตูดิโอด้านบนของร้าน

16.30 น. แยกย้ายกันเดินทางกลับเคหสถานตามอัธยาศัยด้วยความรู้และความประทับใจเต็มเปี่ยม

***กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

นำชมโดย

-จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา (นัท) วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม

วิทยากรรับเชิญ

-ฐิติชัย อัฏฏะวัชระ(ป๊อบ) อาจารย์พิเศษด้านสื่อสารมวลชนและสารคดี ผู้สนใจด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

 

อัตราค่าร่วมกิจกรรม 

ท่านละ  1,390 บาท (หนึ่งพันสามร้อยเก้าสิบบาทถ้วน)/ท่าน

อัตรานี้รวม : 

1.ค่าอาหารรองท้องมื้อเช้า/น้ำดื่มและเครื่องดื่มยามบ่าย

2.ค่าบำรุงสถานที่(มัสยิดเซฟี)และของที่ระลึกวิทยากรท้องถิ่น

3.ค่าเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

-คุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา (นัท)

โทร.0-81343-4261หรือ Line ID : นัท_nut (แอดไลน์ด้วยหมายเลข 0813434261 ก็ได้)

และคุณฐิติชัย อัฏฏะวัชระ(ป๊อบ) โทร. 0-94528-9626

การสำรองเข้าร่วมกิจกรรม

1.โอนเงินจำนวน 1,390 บาท/ท่าน เข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 71 ในนามนายจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา เลขที่บัญชี  931-7-02962-8  

2.เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาโทรศัพท์หรือส่ง SMS ยืนยันเข้าร่วมกิจกรรมที่ โทร.081-343-4261หรือทางกล่องข้อความ(inbox)ในเฟซบุ๊ค นัท จุลภัสสร

โดยระบุชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อสะดวก ชื่อในเฟซบุ๊คหรือ Line ID พร้อมแนบภาพถ่ายสลิปรายการโอนเงินมาด้วย โดยเขียนชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ของท่าน รวมถึงของผู้ร่วมคณะท่านในใบสลิปอย่างชัดเจน เพื่อความสะดวก ในการตรวจสอบของผู้จัดกิจกรรม 

3.หากท่านได้โอนเงินมาแล้ว แต่ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมตามที่แจ้งไว้ได้ อาจมอบให้ผู้อื่นมาแทนได้โดยแจ้งให้ผู้จัดทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน ก่อนวันจัดกิจกรรม หากไม่แจ้งตามกำหนดดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน

4.รับเฉพาะผู้สนใจชาวไทย

ระเบียบในการเข้าชมสถานที่

1.กรุณาแต่งกายสุภาพเพื่อเป็นการเคารพสถานที่ซึ่งไปเข้าเยี่ยมชม

        -สุภาพบุรุษ(แต่งกายสุภาพ งดกางเกงขาสั้นและเสื้อไม่มีแขน)

        -สุภาพสตรี(กรุณาสวมกางเกงสุภาพ/กระโปรงคลุมเข่า/ผ้าซิ่น งดเสื้อไม่มีแขน กางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น)

*** สุภาพสตรี(กรุณาเตรียมผ้าคลุมผม สำหรับเข้าชมมัสยิดเซฟี)

        - รองเท้าหุ้มส้นสวมสบาย

        - กรุณาเตรียมหมวก ร่ม แว่นตากันแดด น้ำดื่มและรองเท้าหุ้มส้นสวมสบายเพื่อความรื่นรมย์ในการเที่ยว

2.กรุณาปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่ทุกแห่งที่เข้าไปเยี่ยมชม เช่น ไม่ล่วงล้ำและถ่ายภาพบางพื้นที่ถ้าไม่ได้รับอนุญาต

โอนเงินแล้วช่วยส่งข้อมูลต่อไปนี้ให้ด้วยครับ

1.หลักฐานการโอนเงิน

2.ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น

3.หมายเลขโทรศัพท์มือถือ 

4.ชื่อในFacebook และไลน์ ไอดี

ติดต่อ จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา (นัท) วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม
โทร.0-81343-4261 Line ID : นัท_nut (แอดไลน์ด้วยหมายเลข 0813434261ก็ได้) 
Fb : นัท จุลภัสสร พนมวัน





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“เลียบแลสถาปัตย์ศิลป์ รอบถิ่นกรุงเกษม เนมปราการ” (วัดโสมนัสวิหาร-เรือนหมอพร-ตลาดนางเลิ้ง-บ้านสุริยานุวัตร-วังสะพานขาว-มัสยิดมหานาค)

“ฟื้นความหลังย่านศูนย์การค้ากลางกรุง สักการะปวงปฏิมา เทวาศักดิ์สิทธิ์” ณ ย่านปทุมวัน-ราชประสงค์-ราชดำริ

“รำลึกรอยอดีตกาล สืบตำนานย่านวังหลัง“ (วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร-แนวกำแพงวังหลัง -ตลาดวังหลัง-ศาลเจ้าพ่อฉางเกลือ-พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน)

ประสบการณ์งานวิทยากรนำชมกลุ่มคณะบุคคลและองค์กรต่างๆ ของ อาจารย์นัท จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา

“นบพระ เสพศิลป์ ยินเรื่องเล่าเหล่าปวงเทวาย่านกลางพระนคร”(วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร-วัดเทพมณเฑียร(ฮินดูสมาช)-เทวสถาน(โบสถ์พราหมณ์)-วัดมหรรณพารามวรวิหาร)