“ชมกรุเครื่องทองกรุงเก่า ฟังเรื่องเล่าแต่หนหลัง จาก”อยุธยา”สู่”รัตนโกสินทร์”"(วัดมหาธาตุ-วัดราชบูรณะ-ห้องเครื่องทองอยุธยาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา-วัดสุวรรณดาราราม-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม-วัดขุนแสน)

การรับรู้เรื่องราวมากมายถึงความรุ่งเรืองทางประวัติศาสตร์ การสงคราม ศิลปกรรมชั้นเลิศหลากแขนงที่สืบทอดและเล่าขานกันอย่างไม่รู้จบของอดีตราชธานีกรุงศรีอยุธยาในเดือนกุมภาพันธ์ และ มีนาคม 2566 นี้จึงอยากชวนทุกท่านร่วมเดินทางเพื่อเยี่ยมชม พินิจพิเคราะห์และทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงและประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่องของกรุงศรีอยุธยานับแต่ครั้งดำรงความเป็นราชธานีจวบจนการเข้ามาศึกษาเรื่องราวและพื้นที่ในยุครัตนโกสินทร์จนถึงกับได้แรงบันดาลใจไปเขียนเป็นนวนิยาย แต่งเพลง สร้างละครโทรทัศน์และภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์จนได้รับความนิยมจากสาธารณชน โดยจะนำพาทุกท่านไปเยี่ยมยลสถานที่น่าสนใจพร้อมฟังเกร็ดตำนานน่าสนุกของแดนกรุงเก่ากับกิจกรรม

ชมกรุเครื่องทองกรุงเก่า ฟังเรื่องเล่าแต่หนหลัง จากอยุธยาสู่รัตนโกสินทร์”"

(วัดมหาธาตุ-วัดราชบูรณะ-ห้องเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา-วัดสุวรรณดาราราม-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม-วัดขุนแสน)

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566

--กำหนดการ--
06.00 น. พบกันบริเวณหน้าร้าน7-Eleven สาขา สยามอินเตอร์ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ถนนพญาไท ใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ฝั่งห้างสรรพสินค้าเซ็นจูรี่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) Map (หากเดินทางมาด้วย BTS ใช้ทางออก 4) *ลงทะเบียนผู้ร่วมกิจกรรม(รถบัสจะมารับตรงเวลา กรุณามาก่อนเวลาเล็กน้อย✌)

7-Eleven สาขา สยามอินเตอร์ (อนุสาวรีย์ชัยฯ)

06.10 น. ล้อหมุนออกเดินทางสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

07.00 น. รับประทานอาหารเช้าหลากรสเติมพลังตามอัธยาศัย ณ ร้านข้าวแกงบ้านสวน วังน้อย ถนนพหลโยธิน, อิสระแวะร้านกาแฟ Cafe Amazon (ตั้งอยู่ละแวกข้างเคียง-สาขาตลาดเซโต้)

07.30 น. ออกเดินทางต่อไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฟังเรื่องราวเกร็ดสาระน่ารู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญพร้อมชมทัศนียภาพสองฟากฝั่งถนนบนเส้นทางการเดินทาง

08.30 น. ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยลวัดมหาธาตุ  พระอารามหลวงสำคัญของกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) แต่ไม่แล้วเสร็จ ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน และได้สร้างเพิ่มเติมจนเสร็จ ในสมัยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อครั้งพระองค์ได้กลับมาครองราชสมบัติอีกครั้ง โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระปรางค์ประธาน และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 1927 ซึ่งเป็นจุดที่พระองค์เคยทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุเปล่งแสงสว่างและลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า ในสมัยอยุธยา วัดมหาธาตุ เป็นศูนย์กลางของพระนคร และเป็นสถานที่จัดพระราชพิธีต่าง ๆ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสี ส่วนพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสีนั้น ประทับอยู่ที่วัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล) เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 วัดมหาธาตุได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายเป็นอันมาก จึงถูกทิ้งร้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันเป็นหนึ่งในวัดที่อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จุดที่น่าสนใจของวัดมหาธาตุอยู่ที่ปรางค์ประธานบนฐานขนาดใหญ่ ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น อันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ(ปัจจุบันส่วนที่เป็นองค์ปรางค์ได้พังทลายเหลือเพียงฐาน) เศียรพระพุทธรูปหินทรายปกคลุมด้วยรากต้นโพธิ์ และเจดีย์หลากหลายรูปแบบศิลปะ ซึ่งเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาถ่ายภาพกันเป็นที่ระลึก

09.00 น. รำลึกรอยประวัติศาสตร์แห่งกรุสมบัติล้ำค่าแห่งแผ่นดิน ณ วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุทางบริเวณทิศตะวันออก สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ในปี พ.ศ. 1967 วัดราชบูรณะมีชื่อเสียงเลื่องลือ เป็นที่รู้จักของประชาชนและนักท่องเที่ยวเล่าขานกันในเรื่องการถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่ง ลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน ในปี พ.ศ. 2499 และโจรกรรมทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายมหาศาล ต่อมากรมศิลปากรได้เข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองอีกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันทรัพย์สมบัติภายในกรุถูกเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่นิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

09.30 น. เยี่ยมชมนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

ซึ่งกรมศิลปากรจัดสร้างอาคารเครื่องทองอยุธยา เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุเหล่านี้โดยเฉพาะและออกแบบจัดแสดงใหม่อย่างสวยงามตระการตา หัวข้อหลักของอาคารนี้คือ เครื่องทอง และคติการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ทั้งนี้โบราณวัตถุที่จัดแสดงในอาคารเครื่องทองประกอบด้วยเครื่องทองจากวัดราชบูรณะ ประเภทเครื่องราชูปโภค เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องสูง และเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ รวมถึงเครื่องทองประเภทพุทธบูชา ซึ่งได้รวบรวมเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาจัดแสดงรวมไว้ที่อาคารเครื่องทองแห่งนี้แห่งเดียว นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเครื่องทองและพระบรมสารีริกธาตุจากวัดมหาธาตุ วัดพระราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ และเจดีย์ศรีสุริโยทัยอีกด้วย จุดเด่นของนิทรรศการคือ การจำลองภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุชั้นที่ 2 ของวัดราชบูรณะ ด้วยเทคนิคการพิมพ์ภาพลงบนแผ่นกระเบื้องเซรามิก โดยมีขนาดและความสูงเท่าขนาดจริง ซึ่งจะให้ภาพ สี และพื้นผิวที่เสมือนจริงมากที่สุดนอกจากเครื่องทองจากกรุวัดราชบูรณะที่มีความงดงามควรค่าแก่การมารับชมด้วยสายตาของตนเองแล้ว โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ควรมาชมอีกชิ้นหนึ่งคือ พระบรมสารีริกธาตุจากวัดมหาธาตุ ที่มีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง และสามารถชมความงามของพระบรมสารีริกธาตุได้อย่างใกล้ชิด

11.30 น. รับประทานอาหารกลางวันหลากรส ณ ร้านก๋วยเตี๋ยวผักหวาน

12.30 น. ทัศนาวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ภายในกำแพงกรุงศรีอยุธยาทางทิศใต้ ริมป้อมเพชร พระชนกทองดี บิดาของรัชกาลที่ 1 ได้สร้าง วัดทองขึ้นใกล้กับบริเวณนิวาสถานเดิม ต่อมาเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่ข้าศึกในปีพ.ศ. 2310 วัดนี้ได้รับความเสียหายจากสงครามกลายเป็นวัดร้าง ต่อมาในปี พ.ศ.2328 เมื่อรัชกาลที่ 1 ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดทองที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่กรุงแตกใหม่ทั้งอาราม ร่วมกับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชา เมื่อแล้วเสร็จพระองค์ได้พระราชทานนามอารามนี้ใหม่ตามนามของพระราชบิดา(ทองดี)และพระราชมารดา(ดาวเรือง)ว่า วัดสุวรรณดารารามชมความความงามสง่าของพระอุโบสถศิลปะแบบไทยประเพณี ฐานแอ่นโค้งสำเภาซึ่งสืบขนบที่นิยมสร้างในศิลปะอยุธยา คันทวยมีเครือเถารายล้อมศิลปะสกุลช่างวังหน้าและที่ไม่น่าพลาดชมคือภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหาร เขียนด้วยสีน้ำมันบนฝาผนังปูนแห่งแรกในประเทศไทยเรื่องพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฝีมือของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตร ซึ่งเป็นเทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกและนำมาประยุกต์ใช้ในจิตรกรรมไทย โดยมีสัดส่วน แสงเงา มุมมองและรายละเอียดของภาพเสมือนจริงน่าชมยิ่งนัก และกล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบของการรับรู้เรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพวาด อนุสาวรีย์ แต่งเพลง เขียนนวนิยาย สร้างละครเวที บทละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ในสมัยต่อมา

13.30 น. ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม หรือ วังจันทรเกษม มีฐานะเป็นวังหน้าสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก  ปรากฎหลักฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ประมาณ พ.ศ.2120 เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเคยใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราชและพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมพระที่นั่งพิมานรัตยาและพลับพลาจตุรมุข ไว้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยาและพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม

สมัยรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระที่นั่งพิมานรัตยา ให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า จนกระทั่งเมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์  เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า  จึงได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาค บริเวณกำแพงทางด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้  แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยา มาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคใหม่ กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาดูแล และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม  จวบจนกระปัจจุบัน ทัศนาพลับพลาจตุรมุข  เป็น  เดิมใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการและเป็นที่ประทับ  ต่อมาใช้เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ เรียกว่า อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังนี้

ยลพระที่นั่งพิมานรัตยา  จัดแสดงประติมากรรมเทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุรี พระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา พระพิมพ์ และเครื่องไม้แกะสลัก พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ หรือหอส่องกล้อง หอสูงสี่ชั้น รัชกาลที่ 4 ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว และตึกที่ทำการภาค  จัดนิทรรศการถาวร 5 เรื่อง คือศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยา สินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของอยุธยา อาวุธยุทธภัณฑ์ ศิลปวัตถุพุทธบูชาและวิถีชีวิตริมน้ำชาวกรุงเก่า

16.15 น. ชมวัดขุนแสน ตั้งอยู่ริมถนนอู่ทองทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง วัดขุนแสนนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารเกี่ยวกับประวัติการสร้าง ปรากฏชื่อวัดในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดเกล้าฯให้ชาวมอญ ซึ่งนำโดยพระยาเกียรติ พระยาราม ที่ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาจากเมืองแครง มาตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณวัดนี้ ภายในวัดปรากฏเจดีย์ทรงระฆังเป็นประธานของวัด ถัดออกมาทางด้านทิศเหนือเป็นที่ตั้งของวิหารหันหน้าออกสู่แม่น้ำลพบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงสืบค้นพงศาวดารพบว่าพระยาเกียรติและพระยารามนั้น มีความสำคัญในฐานะเป็นพระบุพการีของพระบรมราชจักรีวงศ์ จึงโปรดเกล้าฯให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานบูรณปฏิสังขรณ์วัดขุนแสน เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับนิวาสถานของพระยาเกียรติ พระยาราม ในสมัยอยุธยา โดยก่อเจดีย์ขนาดใหญ่ครอบเจดีย์ประธาน และสร้างพระวิหารหลวงขึ้น แต่ยังไม่แล้วเสร็จ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน วัดนี้จึงร้างไป ปัจจุบันวัดขุนแสน เป็นวัดร้าง แต่ได้รับการดำเนินงานขุดแต่ง บูรณะเสริมความมั่นคง ปรับสภาพภูมิทัศน์จากกรมศิลปากรและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติแล้ว

17.00 น. ออกเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ฟังบรรยายจากวิทยากรพร้อมรับอาหารว่างรองท้องและเครื่องดื่มช่วงบ่ายบนรถ

18.30 น. ถึงกรุงเทพมหานครโดยสวัสดิภาพ ส่งทุกท่านที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ก่อนแยกย้ายกันเดินทางกลับด้วยความรู้ ความสนุกสนานและความประทับใจเต็มเปี่ยม

***กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

นำชมโดย

-จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา(นัท) วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม

วิทยากรรับเชิญ

-ฐิติชัย อัฏฏะวัชระ (ป๊อบ) อาจารย์พิเศษด้านสื่อสารมวลชนและสารคดี ผู้สนใจด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

อัตราค่าร่วมกิจกรรม

ท่านละ 2,350 บาท (สองพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)/ท่าน

อัตรานี้รวม

1.ค่าพาหนะไป-กลับ (รถบัสปรับอากาศ)

2.ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม

3.ค่าเข้าชมสถานที่(วัดมหาธาตุ,วัดราชบูรณะ,นิทรรศการเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา,พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม)

4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ยามบ่ายบนรถ)

5.ค่าวิทยากร

6.ค่าประกันอุบัติภัยการเดินทางเป็นหมู่คณะ

---

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

-คุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา(นัท)

โทร.0-81343-4261หรือ Line ID : นัท_nut (แอดไลน์ด้วยหมายเลข 0813434261 ก็ได้)

และคุณสิรินารถ พนมวัน ณ อยุธยา (เอิง)

โทร.0-84071-8482  Line ID : siri_erng

---

การสำรองเข้าร่วมกิจกรรม

1.โอนเงินจำนวน 2,350 บาท/ท่าน เข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 71 ในนามนายจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา เลขที่บัญชี  931-7-02962-8

2.เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาแอดไลน์ด้วย0813434261และส่งข้อมูลต่อไปนี้(ทั้งของท่านและเพื่อนในกลุ่มของท่าน)ให้ผู้จัดกิจกรรม

3.หากท่านได้โอนเงินมาแล้ว แต่ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมตามที่แจ้งไว้ได้ อาจมอบให้ผู้อื่นมาแทนได้โดยแจ้งให้ผู้จัดทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน ก่อนวันจัดกิจกรรม หากไม่แจ้งตามกำหนดดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน

4.รับเฉพาะผู้สนใจชาวไทย

ระเบียบในการเข้าชมสถานที่

1.กรุณาแต่งกายสุภาพเพื่อเป็นการเคารพสถานที่ซึ่งไปเข้าเยี่ยมชม(สถานที่ราชการ)

        -สุภาพบุรุษ(แต่งกายสุภาพ งดกางเกงขาสั้นและเสื้อไม่มีแขน)

        -สุภาพสตรี(กรุณาสวมกางเกงสุภาพ/กระโปรงคลุมเข่า/ผ้าซิ่น งดเสื้อไม่มีแขน กางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น)

        - รองเท้าหุ้มส้นสวมสบาย

        - กรุณาเตรียมหมวก ร่ม แว่นตากันแดด น้ำดื่ม ยาประจำตัวและรองเท้าหุ้มส้นสวมสบายเพื่อความรื่นรมย์ในการเที่ยว

2.กรุณาปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่ทุกแห่งที่เข้าไปเยี่ยมชม เช่น ไม่ล่วงล้ำและถ่ายภาพบางพื้นที่ถ้าไม่ได้รับอนุญาต

***โอนเงินแล้วช่วยส่งข้อมูลต่อไปนี้ให้ด้วยครับ

1.หลักฐานการโอนเงิน

2.ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น

3.หมายเลขโทรศัพท์มือถือ

4.ชื่อในFacebook และไลน์ ไอดี

5.หลักฐานการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม

ติดต่อ จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา (นัท) วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม
โทร.0-81343-4261 Line ID : นัท_nut (แอดไลน์ด้วยหมายเลข 0813434261ก็ได้) 
Fb : นัท จุลภัสสร พนมวัน



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“เยี่ยมยลแหล่งเรียนรู้สองฟากฝั่งเมืองปากน้ำ(สมุทรปราการ-พระประแดง) ทัศนาศิลป์ศาสนสถานคู่นคร สัญจรตลาดชุมชน” ณ จังหวัดสมุทรปราการ

ล่องนาวา ทัศนาวิเศษศิลป์อาราม ยินตำนานย่าน“บางกอกน้อย” ฟื้นรอยอดีตคลองงามนาม “มหาสวัสดิ์”

เลียบแลศิลป์เรือนโบราณ ศาสนสถาน อาคารประวัติศาสตร์ (ย่านราชเทวี-รองเมือง)

“เที่ยวเมืองปากน้ำ นบสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่นคร สัญจรตลาดชุมชน ยลป้อมปราการด่านสมุทร” ณ จังหวัดสมุทรปราการ

ล่องนาวาทัศนาอารามงามศิลป์ ยลยินวิถีถิ่นชาวสวนฝั่งธนฯ ณ คลองภาษีเจริญ-คลองบางหลวง-คลองด่าน-คลองบางขุนเทียน-คลองสนามชัย