รำลึกเรื่องราวพระราชกรณียกิจ ร.๖ อันทรงคุณูปการต่อสยามประเทศ ผ่านสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ซึ่งมีความงดงามทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมกับกิจกรรม…”ธีรราชากิจจานุสรณ์”
เชิญชวนรำลึกเรื่องราวพระราชกรณียกิจอันทรงคุณูปการต่อสยามประเทศของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ผ่านสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ซึ่งมีความงดงามทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมกับกิจกรรม…
"ธีรราชากิจจานุสรณ์"
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565
ไฮไลท์
-ตื่นตากับพระภูษาอาภรณ์ส่วนพระองค์ในล้นเกล้าฯรัชกาลที่
6 กับหลากเรื่องราวประวัติศาสตร์เบื้องหลังชุดทรงต่างๆ
-รำลึกวีรกรรมอันหาญกล้าของเหล่าทหารอาสาในมหาสงครามโลกครั้งที่
1 ซึ่งล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 ส่งไปร่วมรบอันส่งผลให้สยามประเทศสามารถปลดพันธะสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับประเทศฝ่ายอักษะบางประเทศได้สำเร็จและอวดโฉมธงไตรรงค์สู่สายตาชาวโลก
-สักการะพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหารพร้อมชมความงดงามทางศิลปกรรมของตึกมนุษยนาควิทยาทาน(ชมในอาคาร)และตำหนักเพ็ชร(ชมภายนอกอาคาร)
นำชมโดยพระวิทยากรผู้มากด้วยความรู้
-ไขปริศนาสัญลักษณ์ทางศิลปกรรมในสถานศึกษาซึ่มีความเป็นมาเก่าแก่กว่าร้อยปี
ณ
”วชิราวุธวิทยาลัย”พร้อมชมนานาอาคารอันมีเอกลักษณ์ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้สถาปนาขึ้น
-เยี่ยมยลหมู่พระที่นั่งอันสง่างามข้ามกาลเวลาด้วยศิลปกรรมแบบตะวันตกแบบเจาะลึก
ณ พระราชวังพญาไท
-จิบเครื่องดื่มเย็นๆดับกระหายคลายเหนื่อยในบรรยากาศสุดคลาสสิค
ณ ร้านกาแฟนรสิงห์
กำหนดการ
08.15 น. พบกัน ณ
ม้านั่งบริเวณลานหน้าสวนสราญรมย์ Map ถนนเจริญกรุง ลงทะเบียนผู้ร่วมกิจกรรม
รับขนมรองท้องและน้ำดื่ม
วิธีการเดินทางไป สวนสราญรมย์ |
08.30 น. เริ่มกิจกรรม
ชมความร่มรื่นแมกไม้นานาพันธุ์ของสวนสราญรมย์ ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังสราญรมย์ ตั้งอยู่นอกกำแพงพระบรมมหาราชวัง
ด้านทิศตะวันออก พระราชวังแห่งนี้รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้สร้างในปีพ.ศ. 2409 ตรงบริเวณตึกดินเก่า
เพื่อเป็นที่ประทับหลังทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรสแล้ว
แต่ยังสร้างไม่เสร็จก็ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน จนมาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระราชทานให้ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอหลายพระองค์เมื่อแรกเสด็จจากวังหลวงก่อนที่วังส่วนพระองค์จะสร้างเสร็จ
ต่อมาใช้เป็นสถานที่รับพระราชอาคันตุกะจากต่างแดน เช่น เจ้าชายออสคาร์
พระราชโอรสแห่งกษัตริย์สวีเดนในปีพ.ศ. 2427 ซึ่งเจ้าชายพระองค์นี้ทรงบันทึกไว้ถึงความงดงามของพระราชอุทยานแห่งนี้ว่า
“งดงามแปลกตา มีสถานที่เลี้ยงสัตว์และนก”
ต่อมาในปีพ.ศ. 2447 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือรัชกาลที่ 6)โปรดเกล้าฯใช้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมวิชาทหารแก่มหาดเล็กรักษาพระองค์
และเป็นศูนย์กลางขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และแนวความคิดใหม่ๆ ในนาม “ทวีปัญญาสโมสร” และเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ทรงใช้เป็นที่จัดงานฤดูหนาวประจำปี
09.00 น. เยี่ยมยล “พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6” พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ตั้งอยู่ในอาคารราชวัลลภ ซึ่งงดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามอาคารและได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2467 โดยพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 จัดแสดงอยู่บนอาคารชั้นที่ 2-3 ของอาคารราชวัลลภ ประกอบด้วย ห้องจัดแสดงชั้น 2 ห้องพระบารมีปกเกล้า
ประกอบด้วย
1.ส่วนจัดแสดงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
2.ส่วนจัดแสดงพระราชประวัติ
เป็นการจัดแสดงเรื่องราวพระราชประวัติ ตั้งแต่พระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.2423 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.2468
3.ส่วนจัดแสดงพระราชกรณียกิจ แสดงพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ รวมถึง พระราชกรณียกิจด้านเสือป่า ซึ่งเป็นรากฐานของกำลังสำรองในปัจจุบัน
4.ส่วนจัดแสดงพระปรีชาชาญด้านการทหาร นำเสนอ
เรื่องราวการที่พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 และจัดแสดงเรื่องราวของยุวชนทหาร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในสมัย จอมพล
ป.พิบูลสงคราม โดยนำรากฐานมาจากเสือป่า
ชั้นที่ 3 ชื่อห้องรามจิตติ เป็นห้องจัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ ฉลองพระองค์ ฉลองพระบาท พระมาลา และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งหน่วยบัญชาการกำลังสำรองได้รับมอบจากสำนักพระราชวังตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 ในห้องชั้น 3 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปจำลอง รัชกาลที่ 6 ทรงชุดเสือป่าราบหลวง ซึ่งจัดทำขึ้นใหม่ การจัดแสดงในห้องนี้เป็นการจำลองบรรยากาศห้องทรงงานของพระองค์ท่าน จัดแสดงลายพระหัตถ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มี ธงมหาศาลทูลธวัช (ธงเสือป่า) และ ธงยุวชนทหาร จัดแสดงไว้ด้วย และบริเวณระเบียงด้านนอกของชั้น 3 นี้ เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นพระบรมมหาราชวังได้อย่างสวยงาม
ด้านหน้าห้องรามจิตติ
มี รูปหล่อพระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต หรือที่เรียกขานกันว่า “เจ้าคุณนรฯ” ท่านเคยเป็นมหาดเล็กรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยานรรัตนราชมานิต (พระยาพานทอง)
และได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
ท่านได้อุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล และครองสมณเพศจนมรณภาพ
10.15 น. ออกเดินทางจากหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน แวะสักการะและรำลึกวีรกรรมทหารหาญผู้สละชีพ ณอนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1
ตั้งอยู่ ณ มุมสนามหลวงด้านทิศเหนือ
เป็นอนุสรณ์แก่ทหารไทยที่ไปร่วมรบในสมรภูมิ ยุโรป เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 เพื่อใช้เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่และใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของเหล่าทหารผู้กล้า
ที่เข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยครั้งนั้นมีนายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ (ผาด เทพหัสดิน ณ
อยุธยา) เป็นหัวหน้าทูตทหาร ภายหลังเมื่อสงครามสงบ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
จึงเดินทางกลับประเทศไทย
โดยมีจำนวนทหารผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นจำนวนมาก
อนุสาวรีย์ทหารอาสาได้รับการออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ตัวอนุสาวรีย์เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะแบบศิลปะประยุกต์จากสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย
ซึ่งมีต้นเค้าจากศาสนสถานของชวาภาคกลางที่เรียกว่า จันทิ
มีจารึกกล่าวถึงสาเหตุที่ไทยต้องเข้าร่วมสงคราม พร้อมทั้งรายนามผู้เสียชีวิต
โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
ไปทรงประกอบพิธีบรรจุอัฐิทหารอาสาที่ฐานอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2462 และโปรดพระราชทานนามเป็นอนุสรณ์
ถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1และทางราชการได้ถือเอาวันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันประกอบพิธีวางพวงมาลา
10.30 น.
สักการะพระบรมราชสรีรังคาร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ส่งผลให้พระอารามแห่งนี้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 ฟังเรื่องราวอันน่าสนใจ ร่วมรำลึกพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวกับการทำนุบำรุงการพระศาสนาในรัชสมัยของพระองค์ พร้อมเยี่ยมชมอาคารที่ก่อสร้างขึ้นในรัชสมัยซึ่งมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง อาทิ ตำหนักเพ็ชร(ชมภายนอกอาคาร) ตึกมนุษยนาควิทยาทาน(ชมภายในอาคาร) ฯลฯ
12.00 น.
อิ่มอร่อยกับอาหารไทยเลิศรส ณ ร้านอาหาร จั-น-ท-ร์-ร-พี
13.15 น. ยล”วชิราวุธวิทยาลัย” โรงเรียนชายล้วนที่ได้รับแนวคิดด้านการศึกษาจากอังกฤษ
อายุกว่า 100 ปี
เป็นสถานศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาขึ้น
เพื่อเป็นสถานที่ทรงทดลองการจัดการศึกษาของชาติ
ในลักษณะเดียวกับการที่ทรงตั้งดุสิตธานีสำหรับทดลองการปกครองในระบอบประชาธิไตยแล้ว
ยังมีพระราชดำริอย่างใหม่ในการสร้างโรงเรียนแทนวัดด้วย
เนื่องจากทรงเล็งเห็นว่าในรัชสมัยของพระองค์มีพระอารามหลวงอยู่มากแล้ว
หากสถาปนาพระอารามหลวงขึ้นอีก ก็จะเป็นพระราชภาระในการบูรณปฏิสังขรณ์
อีกทั้งทรงเห็นว่าสิ่งจำเป็นในขณะนั้นคือการให้การศึกษาแก่ราษฎร
อันจะนำพามาซึ่งความเจริญแก่ชาติบ้านเมืองในอนาคต
โดยทรงมอบหมายให้นายช่างออกแบบของกรมศิลปากรจัดการออกแบบก่อสร้างหอสวด(หอประชุม)และหอนอนของนักเรียนให้แล้วเสร็จ
และได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 750,000 บาท เพื่อจัดสร้างโรงเรียนถาวรด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันวิจิตร
ชมหอสวดหรือหอประชุมซึ่งตั้งอยู่กลางพื้นที่ของโรงเรียน
เป็นอาคารรูปทรงโกธิกที่ผสานรูปแบบศิลปกรรมไทยตามแนวคิดของศาสนสถานในพระพุทธศาสนาไว้อย่างกลมกลืน
หน้าบันของหอประชุมทั้ง 4 ด้านจำหลักไม้เป็นสัญลักษณ์แทนองค์เทพทั้งสี่ในศาสนาฮินดู
หอประชุมนี้จึงเปรียบเสมือนวิมานของทวยเทพ
และเป็นที่ประชุมสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน
ประกอบพิธีกรรมสำคัญของโรงเรียนสืบมาจนปัจจุบัน
และเยี่ยมชมอาคารอันงดงามมีเอกลักษณ์ที่ผสมผสานศิลปกรรมแบบตะวันออก-ตะวันตกในบริเวณโรงเรียน
อาทิ ตึกวชิรมงกุฎ คณะจิตรลดา (Chitrlada House) คณะพญาไท (Phyathai House) หอนาฬิกา ฯลฯ
15.00 น.
ฟังเรื่องราวอันน่าสนใจของพระราชวังพญาไท
พระราชฐานซึ่งตั้งอยู่ที่ริมคลองสามเสน
ตื่นตากับความงดงามทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมในหมู่พระที่นั่งและอาคารต่างๆในพระราชวังพญาไท
อาทิพระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งไวกูณฐ์เทพยสถาน เรือนเมขลารูจี
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ฯลฯ พร้อมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังแห่งนี้
คือพระมหานาคชินะวรวรานุสรณ์มงกุฎราช (พระพุทธรูปประจำพระชนมวารรัชกาลที่ ๖) และ
ศาลท้าวหิรัญยพนาสูร
16.30 น.
จิบเครื่องดื่มเย็นๆดับกระหายคลายเหนื่อย
ล้อมวงกันฟังเกร็ดสาระน่ารู้ต่างๆในสมัยรัชกาลที่ 6 ณ ร้านกาแฟนรสิงห์ ณ วังพญาไท Map
17.00 น. จบกิจกรรม แยกย้ายกันเดินทางกลับเคหสถานด้วยความรู้และความประทับใจเต็มเปี่ยม
***กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม***
นำชมโดย
-จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา(นัท)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม
-วิทยากรรับเชิญ อาจารย์พิษณุ กมลเนตร์ ครูผู้ช่วยกำกับคณะวชิราวุธวิทยาลัย
อัตราค่าร่วมกิจกรรม
ท่านละ 1,960 บาท
(หนึ่งพันเก้าร้อยหกสิบบาทถ้วน)/ท่าน
อัตรานี้รวม
1.ค่าอาหารและน้ำดื่ม
(มื้อเช้า/มื้อกลางวัน)
2.ค่าเครื่องดื่ม(เช้า/บ่าย)
3.ค่าพาหนะ(ระหว่างกิจกรรม)
4.วิทยากร
5.หูฟังHeadset
6.ค่าเข้าชมพระราชวังพญาไท (ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ต้นปี 2565)
สอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา(นัท)
โทร.0-81343-4261หรือ Line ID : นัท_nut (แอดไลน์ด้วยหมายเลข
0813434261 ก็ได้)
และคุณสิรินารถ
จันทรวงศา (เอิง)
โทร.0-84071-8482
Line ID : siri_erng
การสำรองเข้าร่วมกิจกรรม
1.โอนเงินจำนวน 1,960 บาท/ท่าน เข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงเทพ (จำกัด) มหาชน
สาขาสุขุมวิท 71 ในนามนายจุลภัสสร
พนมวัน ณ อยุธยา เลขที่บัญชี 931-7-02962-8
2.เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาโทรศัพท์หรือส่ง
SMS ยืนยันเข้าร่วมกิจกรรมที่ โทร.0-81343-4261 หรือทางกล่องข้อความ(inbox)ในเฟซบุ๊ค นัท จุลภัสสร หรือ Line ID : นัท_nut (แอดไลน์ด้วยหมายเลข0813434261ก็ได้)โดยระบุชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อสะดวก
ชื่อในเฟซบุ๊คหรือ Line ID พร้อมแนบภาพถ่ายสลิปรายการโอนเงินมาด้วย
โดยเขียนชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ของท่าน
รวมถึงของผู้ร่วมคณะท่านในใบสลิปอย่างชัดเจน เพื่อความสะดวก
ในการตรวจสอบของผู้จัดกิจกรรม
3.หากท่านได้โอนเงินมาแล้ว
แต่ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมตามที่แจ้งไว้ได้
อาจมอบให้ผู้อื่นมาแทนได้โดยแจ้งให้ผู้จัดทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน ก่อนวันจัดกิจกรรม
หากไม่แจ้งตามกำหนดดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน
4.รับเฉพาะผู้สนใจชาวไทย
ระเบียบในการเข้าชมสถานที่
1.กรุณาแต่งกายสุภาพเพื่อเป็นการเคารพสถานที่ซึ่งไปเข้าเยี่ยมชม
-สุภาพบุรุษ(แต่งกายสุภาพ
งดกางเกงขาสั้นและเสื้อไม่มีแขน)
-สุภาพสตรี(กรุณาสวมกางเกงสุภาพ/กระโปรงคลุมเข่า/ผ้าซิ่น งดเสื้อไม่มีแขน กางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น)
- รองเท้าหุ้มส้นสวมสบาย
- กรุณาเตรียมหมวก ร่ม แว่นตากันแดด น้ำดื่มและรองเท้าหุ้มส้นสวมสบายเพื่อความรื่นรมย์ในการเที่ยว
โอนเงินแล้วช่วยส่งข้อมูลต่อไปนี้ให้ด้วยครับ
1.หลักฐานการโอนเงิน
พร้อมชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ชื่อในFacebook และไลน์ ไอดี
2.หลักฐานการฉีดวัคซีนครบอย่างน้อย 2 เข็ม
3.หลักฐานการตรวจATKรายบุคคล (กรุณาส่งผลก่อนวันเดินทาง 2 วัน)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น